Thursday, November 7, 2019

บันทึกเกร็ดสุริยยาตร์ ตอนที่ 2

บันทึกเกร็ดสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 

หลังจากจบเกร็ดความรู้ในชุดแรกกันไปแล้ว ในตอนต่อคราวนี้ มาถึงชุดที่สองกันบ้าง เป็นของท่านผู้มีชื่อเสียงอีกท่านหนึ่ง คือ คุณพลังวัชร์ ซึ่งพบว่าท่านได้เขียนตอบไว้ในกระทู้อันนี้
http://www.payakorn.com/webboard_ans.php?q_id=3465 

แล้วผู้เขียนก็ไปเก็บเอามันมา
หวังว่าจะช่วยงานอะไรในทางคำนวณของตัวเองได้บ้าง 

แต่เปล่าเลย กลับงงหนักยิ่งขึ้นไปกว่าเดิมเสียอีก 
หมายเหตุ ซึ่งกระทู้ดังกล่าวนั้น ก็คือ บทความเกร็ดความรู้ในชุดแรก นั่นเอง 
เอาล่ะ ไม่พูดมาก เรามาดูกันเลย 
กับเรื่องของ การหาตำแหน่งดวงอาทิตย์ย้ายราศีโดยใช้คาบวงโคจร 


การหาตำแหน่งดวงอาทิตย์ย้ายราศีโดยใช้คาบวงโคจร 
เนื่องจากสูตรคำนวณดวงอาทิตย์ในคัมภีร์สุริยยาตร์เป็นสูตรตายตัว 
ทำให้คิดว่าน่าจะมี"สูตร"หรือ"คาบเวลา" ของการโคจร"ที่แน่นอนตายตัว"
ที่จะทำให้หาตำแหน่งการโคจรของดวงอาทิตย์ เพื่อใช้ในการ"ประมาณการ" อย่างหยาบ - ถึงละเอียด 

ในการหาตำแหน่งดาวพระเคราะห์ในกรณีนี้ ใช้ในการหา"ดาวย้ายราศี" หรือ "พระเคราะห์ยก"เท่านั้น โดยไม่คำนึงถึง"องศา" และเพื่อตัดปัญหาการคำนวณ
ถ้าต้องการทราบเพียงแค่"ดาวสถิตย์ราศี" หรือ "ราศีอาทิตย์ของเจ้าชะตา"(Sun Sign) เท่านั้น 

สรุปวิธีการ 
1) คำนวนหาวันและเวลาเถลิงศก ณ ปีที่ต้องการ แนะนำให้ใช้สูตรของท่าน อ.พันตรีบุนนาค ทองเนียม ตามที่เคยเสนอไว้ใน กระทู้2125 ดังนี้ 
ตัวอย่างที่ 1 
พศ.2546 = จศ 1365 
แทนค่าในสูตร (((((1365*0.25875)+(TRUNC(1365/100+0.38))) -TRUNC(1365/4+0.5)))-(TRUNC(1365/400+0.595)))-5.53375 = 16.66 
วันเถลิงศก ตกวันพุธที่ 16 เม.ย. เวลา 15 นาฬิกา 50 นาที 24 วินาที 
2) หาวันมหาสงกรานต์ ตามสูตรที่เคยเสนอไว้ใน กระทู้2125 เช่นกัน = 16.66 - 2.165 = 14.495
วันมหาสงกรานต์ตรงกับวันจันทร์ที่ 14 เม.ย. เวลา 11 นาฬิกา 52 นาที 48 วินาที 

3) คาบวงโคจรของดวงอาทิตย์(ตามสูตรสุริยยยาตร์) 
เมษโคจร 30 วาร 720 กัมมัช หรือ 30.90000 วัน 
พฤษภโคจร 31วาร 305 กัมมัช หรือ 31.38125 วัน 
มิถุนโคจร 31วาร 535 กัมมัช หรือ 31.66875 วัน 
กรกฏโคจร 31วาร 403 กัมมัช หรือ 31.50375 วัน 
สิงห์โคจร 31วาร 67 กัมมัช หรือ 31.08375 วัน 
กันย์โคจร 30 วาร 392 กัมมัช หรือ 30.49000 วัน 
ตุลย์โคจร 29 วาร 745 กัมมัช หรือ 29.93125 วัน 
พิจิกโคจร 29 วาร 423 กัมมัช หรือ 29.52875 วัน 
ธนูโคจร 29 วาร 235 กัมมัช หรือ 29.29375 วัน 
มกรโคจร 29 วาร 339 กัมมัช หรือ 29.42375 วัน 
กุมภ์โคจร 29 วาร 590 กัมมัช หรือ 29.73750 วัน 
มีนโคจร 30 วาร 253 กัมมัช หรือ 30.31625 วัน 
รวม 359 วาร 5007 กัมมัช = 292207 กัมมัชพล 
หรือ 365.25875 วันใน 1 ปีดาราคติสุริยยาตร์(ตายตัว) 
4) หาวันที่อาทิตย์ยกเข้าแต่ละราศีดังนี้ 
= มหาสงกรานต์ =14.495+ 90(มค.31 วัน + กพ.28 วัน + มี.ค.3)= 104.495 
= 104.495+เมษโคจร 30.9 = 135.395 
วันที่อาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีพฤษภ 15 พฤษภาคม 2546 เวลา 9:28:48 น. 
= 135.395+ พฤษภโคจร 31.38125 = 166.77625 
วันที่อาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีมิถุน 15 มิถุนายน 2546 เวลา 18:37:48 น. 
= 166.77625+ มิถุนโคจร 31.66875 = 198.445 
วันที่อาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีกรกฏ 17 กรกฎาคม 2546 เวลา 10:40:48 น. 
= 198.445+ กรกฏโคจร 31.50375 = 229.94875 
วันที่อาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีสิงห์ 17 สิงหาคม 2546 เวลา 22:46:12 น. 
= 229.94875+ สิงห์โคจร 31.08375 = 261.0325 
วันที่อาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีกันย์ 18 กันยายน 2546 เวลา 0:46:48 น. 
= 261.0325+ กันย์โคจร 30.49 = 291.5225 
วันที่อาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีตุลย์ 18 ตุลาคม 2546 เวลา 12:32:24 น. 
= 291.5225+ ตุลย์โคจร 29.93125 = 321.45375 
วันที่อาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีพิจิก 17 พฤศจิกายน 2546 เวลา 10:53:24 น. 
= 321.45375+ พิจิกโคจร 29.52875 = 350.9825 
วันที่อาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีธนู 16 ธันวาคม 2546 เวลา 23:34:48 น. 
= 350.9825+ ธนูโคจร 29.29375 = 380.27625-365 =15.27625 
วันที่อาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีมกร 15 มกราคม 2547 เวลา 6:37:48 น. 
= 380.27625+ มกรโคจร 29.42375 = 409.7-365 =44.70 
วันที่อาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีกุมภ์ 13 กุมภาพันธ์ 2547 เวลา 16:48:00 น. 
= 409.70+ กุมภ์โคจร 29.7375 = 439.4375-365 =74.4375 
วันที่อาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีมีน 14 มีนาคม 2547 เวลา 10:30:00 น. 

หมายเหตุ หรคุณที่ปรากฏ นับจากวันที่ 1 มกราคม ของปีเถลิงศกนั้นๆ =============================================== 
ตัวอย่างที่2 
พศ.2551 = จศ 1370 
แทนค่าในสูตร (((((1370*0.25875)+(TRUNC(1370/100+0.38))) -TRUNC(1370/4+0.5)))-(TRUNC(1370/400+0.595)))-5.53375 = 15.95375 
วันเถลิงศก ตกวันอังคาร ที่ 15 เม.ย. เวลา 22 นาฬิกา 53 นาที 24 วินาที 
2) หาวันมหาสงกรานต์ = 15.95375 - 2.165 = 13.78875 
วันมหาสงกรานต์ตรงกับวันอาทิตย์ ที่ 13 เม.ย. เวลา 18 นาฬิกา 55 นาที 48 วินาที 
3) หาวันที่อาทิตย์ยกเข้าแต่ละราศี 
= มหาสงกรานต์ =13.78875+ 91(มค.31 วัน + กพ.29 วัน + มี.ค.31)=104.78875 
=104.78875+ เมษโคจร 30.9 = 135.68875 
วันที่อาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีพฤษภ 14 พฤษภาคม 2551 เวลา 16:31:48 น. 
= 135.68875+ พฤษภโคจร 31.38125 = 167.07 
วันที่อาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีมิถุน 15 มิถุนายน 2551 เวลา 1:40:48 น. 
= 167.07+ มิถุนโคจร 31.66875 = 198.73875 
วันที่อาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีกรกฏ 16 กรกฎาคม 2551 เวลา 17:43:48 น. 
= 198.73875+ กรกฏโคจร 31.50375 = 230.2425 
วันที่อาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีสิงห์ 17 สิงหาคม 2551 เวลา 5:49:12 น. 
= 230.2425+ สิงห์โคจร 31.08375 = 261.32625 
วันที่อาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีกันย์ 17 กันยายน 2551 เวลา 7:49:48 น. 
= 261.32625+ กันย์โคจร 30.49 = 291.81625 
วันที่อาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีตุลย์ 17 ตุลาคม 2551 เวลา 19:35:24 น. 
= 291.81625+ ตุลย์โคจร 29.93125 = 321.7475 
วันที่อาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีพิจิก 16 พฤศจิกายน 2551 เวลา 17:56:24 น. 
= 321.7475+ พิจิกโคจร 29.52875 = 351.27625 
วันที่อาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีธนู 16 ธันวาคม 2551 เวลา 6:37:48 น. 
= 351.27625+ ธนูโคจร 29.29375 = 380.57-365 =15.57 
วันที่อาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีมกร 14 มกราคม 2552 เวลา 13:40:48 น. 
= 380.57+ มกรโคจร 29.42375 = 409.99375-365 =44.99375 
วันที่อาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีกุมภ์ 12 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา 23:51:00 น. 
= 409.99375+ กุมภ์โคจร 29.7375 = 439.73125-365 =74.73125 
วันที่อาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีมีน14 มีนาคม 2552 เวลา 17:33:00 น. 

ข้อแนะนำ 
1) สอบกับปฏิทินโหราศาสตร์ ของอ.ทองเจือ อ่างแก้ว แล้ว
ได้ผลตรงกันเป็นส่วนมาก ผิดไม่เกิน 1 นาที
หรือไม่ก็ผิดหลายนาทีไปเลย(ตากล???คำนวนผิด???) 

แนะนำให้คำนวณสอบดูตรงเวลาที่แจ้งในปฏิทินนั้น โดยวิธีตัดกากบาทเฉลี่ย หรือใช้โปรแกรมช่วย
ว่าปฏิทินผิด หรือสูตรของผมผิด!!! 

2) การปัดเศษวินาที ถ้าวินาทีไม่ใช่ 00 ให้ปัดขึ้น 1 นาที เช่น 
เวลา 5:49:12 น. (5 นาฬิกา 49 นาที 12 วินาที) ให้ปัดเป็น เวลา 5:50 น. 
เพราะ ถ้าปัดเศษลงที่เวลา เวลา 5:49 น. ดาวจะยังไม่ย้ายราศี 
3) ขอให้สังเกต จำนวนเศษที่ได้จากวิธีนี้
จะเป็นค่าลงตัวที่ 12, 24, 36, 48, 60 วินาที 

เพราะ ค่าต่ำสุดที่ใช้ในการคำนวณคือ กัมมัชพล 
800 กัมมัชพล = 1 วัน 
800 กัมมัชพล = 1440 นาที 
เพราะฉะนั้น 1 กัมมัชพล = 1 นาที 48 วินาที หรือ 108 วินาที 
เมื่อทำการบวกทบกันเรื่อยๆ จะได้ค่าตัวเลข เป็นวินาทีชุดดังกล่าว 
4) สูตรนี้สามารถปรับใช้ในการคำนวณร่วมกับหรคุณแบบต่างๆได้ 
เช่นหรคุณเกรกรอเรียน หรือจูเลียน 
แต่ขอให้ระวัง เรื่องการใช้สูตรคำนวนกลับจากหรคุณ 
มาเป็นระบบ วัน-เดือน-ปี-เวลาด้วย 
สวัสดี 
พลังวัชร์
-------------------------------------------------------------------
จบการฝากข้อมูลไว้แต่เพียงเท่านี้ 

สำหรับสูตรในบทความนี้ ผู้เขียนเองยังหาที่มาที่ไป ไม่ได้เลยด้วยซ้ำ ว่ามาจากที่ไหน ตรงจุดไหนและแง่มุมไหน 
บางที อาจจะมาจากสูตรในหนังสือของท่านอาจารย์เล่มเก่า
(คัมภีร์พระสุริยยาตรศิวาคม)ก็เป็นได้ 

ยอมรับและนับถือในความวิริยะอุตสาหะเป็นอย่างยิ่ง
(ขอกล่าวอีกครั้ง ตามรอยอัจฉริยะนั้นไม่ง่ายเลย)
ขอขอบพระคุณทุกท่านมา ณ ที่นี้ด้วย
พบกันใหม่ คราวหน้า สวัสดี.

No comments:

Post a Comment