Wednesday, December 16, 2020

กรณีศึกษาพิเศษ2 หลุมพรางหรคุณ เมื่อหรคุณไม่เท่ากันแต่สมผุสนั้นใช่

 กรณีศึกษาพิเศษ2 หลุมพรางหรคุณ เมื่อหรคุณไม่เท่ากันแต่สมผุสนั้นใช่

นึกไม่ถึงว่า จะได้เจอตัวอย่างของหลุมพรางหรคุณจากการใช้งานจริง ซึ่งทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ผิดเพี้ยนไปในระดับหนึ่ง จนกระทั่งพบเจอปัญหาที่คุณเพิ่งหัดได้เคยตั้งคำถามเอาไว้

กรณีศึกษาพิเศษ ทำไมได้สมผุสไม่ตรงกัน

 กรณีศึกษาพิเศษ ทำไมได้สมผุสไม่ตรงกัน

 กรณีศึกษาพิเศษ ทำไมได้สมผุสไม่ตรงกันทั้งที่มาจากตำราเดียวกัน

เรื่องนี้ แทรกอยู่ในกระทู้ ต้นฉบับ ตามนี้

http://www.payakorn.com/webboard_ans.php?q_id=3638

มหาสุริยยาตร์ ( The Great Suriyayart )

อันเป็นต้นทางของข้อมูลที่ใช้เรียบเรียงชุดสมการสุริยยาตร์ขึ้นมาใหม่

ที่มาของเรื่องนี้ มาจากการถามตอบกันระหว่างคุณ เพิ่งหัด กับ คุณทองคำขาว ท่านผู้รู้

แต่จากการวินิจฉัยของท่านผู้รู้ เมื่ออ่านแล้ว มีลักษณะมึนงง ทั้งผู้ตอบและผู้ถาม ส่งผลให้คำตอบของคำถามแท้จริงก็ยังไม่ได้รับการตอบ

ประการแรก ผู้ถามยังไม่ได้รับคำตอบชัดๆว่า ทำไมจึงไม่ตรงกัน แต่ได้รับคำตอบเป็นข้อสันนิษฐานเชิงวิชาการแทน เช่น วิธีการหาค่ามัธยม สมผุส การใช้เกณฑ์ประมาณค่าที่แตกต่างกัน ทั้งในคัมภีร์แต่ละฉบับและในแต่ละวิธีการคำนวณตามโปรแกรม เป็นต้น

ประการที่สอง แทนที่คำถามแรกจะจบลง ผู้ถามกลับถามปัญหาอื่นตามเข้ามาด้วยคือเรื่องของสมผุสของดาวอื่นๆ ที่พบว่า มันไม่ตรงตามความเป็นจริง เช่นกัน ประกอบกับการตอบปัญหาแบบร่ายยาวจนมึนงง ทั้งผู้ตอบและผู้ถาม ที่ผลสรุปก็คือ มีเลขเกณฑ์บางส่วนผิดพลาด ต้องแก้ไขใหม่หมด และสุดท้าย เรื่องแลดูจะลงล็อกว่า ไปด้วยกันได้ เพราะสมผุสเสาร์นั้น ตรงกันแล้ว อันเป็นคำตอบที่น่าจะพอใจสำหรับผู้ถาม ทำให้คำถามที่ถามไว้แต่แรก ก็ยังคงไม่ทราบคำตอบแท้จริงอยู่ดี ในท้ายที่สุด

คำถามมีอยู่ว่า คิดว่า คำอธิบายเหล่านั้น น่าเชื่อถือได้ และใช้งานได้แล้วจริงๆ ใช่หรือไม่

คำตอบคือ ใช่ ณ ขณะเวลานั้น แต่เมื่อ ลองย้อนกลับมาตรวจสอบดู จึงรู้ว่า ความเป็นจริง มันไม่ใช่

เป็นกรณีศึกษาที่ดี และเป็นอุทาหรณ์ให้กับเรื่องของหรคุณข้ามระบบ ได้อย่างดีด้วยเช่นกัน

Saturday, December 12, 2020

Julian Date หรรษา

Julian Date หรรษา 

มาแปลกหน่อย สำหรับตอนนี้  
ขอรวบรวมสูตรหา Julian Date ไว้สักนิด เพื่อ ประโยชน์ในการวิเคราะห์ค่าหรคุณแบบต่างๆ ในอนาคต 
สูตร Julian Date (หรคุณจูเลียน) 
เนื่องจากนิยามแท้จริงของ Julian Date คือ การกำหนดนับวันสะสม นิยาม ณ เวลาเที่ยงวัน ณ เมืองกรีนิช สูตรโดยส่วนใหญ่ที่พบ มักจะเป็นไปตามนี้ ผลลัพธ์ที่ได้ เป็นเลขจำนวนเต็ม แต่สามารถปรับเวลาให้เป็นเที่ยงคืนได้ด้วยการหักลบไปอีก 0.5 
เพื่อให้ทางนักดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ได้ใช้งานกันอย่างเหมาะสม กล่าวคือ 
หรคุณจูเลียน ณ วันเวลาใด ๆ มีค่าเท่ากับหรคุณจูเลียน ลดลงเสีย 0.5 (เพราะนับที่เที่ยงวันเป็นหลักต้องถอยไปที่เที่ยงคืน) แล้วจึงเอาเวลาเป็นทศนิยมนับแต่เริ่มวันนั้นบวกเข้า 
ข้อความนี้นำมาจากส่วนหนึ่งของ https://th.wikipedia.org/wiki/หรคุณจูเลียน 
อ่านดูแล้วเห็นว่า อธิบายได้ดี เลยขอนำมาใส่ไว้เสียเลย 

Sunday, November 22, 2020

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 4 ภาคสูตรมัธยมกับสมผุสราหู ทำใหม่

 รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 4 ภาคสูตรมัธยมกับสมผุสราหู ทำใหม่

ในตอนที่แล้ว ได้มีบทส่งท้ายของสมการสุริยยาตร์ อันเนื่องมาจากเหตุของราหู เพราะท่านผู้รู้ได้พบว่า ค่าตำแหน่งของราหูในคัมภีร์สุริยยาตร์กับสารัมภ์ มีความแตกต่างอันหนึ่งอยู่ จึงได้ทำการค้นคว้าเพิ่มเติม จนได้มาซึ่งสูตรพิเศษเกี่ยวกับตำแหน่งของราหูที่ปรับปรุงใหม่ สำหรับรายละเอียดจะเป็นอย่างไร ขอเชิญพิจารณาได้เลย

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 3 ภาคสูตรเสริม

 รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 3 ภาคสูตรเสริม

ในตอนที่แล้ว ทิ้งท้ายเอาไว้ ว่า ในผลการคำนวณของทุกสมการ ตั้งแต่ มัธยมและสมผุส จะมีค่าเป็น
องศาจำนวนจริง ทั้งหมด ซึ่งมีค่าของผลลัพธ์ในจำนวนหลักตัวเลขที่มากและเกินกว่า
1 รอบของวงกลม (360 องศา)
จึงจำเป็นที่จะต้องทำการทอนรอบต่างๆที่คำนวณได้ ให้กลับมามีค่าไม่เกิน 360 องศา ทั้งหมด
เพื่อความง่ายในการพิจารณาและการคำนวณ

ซึ่งท่านผู้รู้เอง ก็ไม่ได้ละเลยในเรื่องนี้ จึงได้ทำสูตรแยกไว้ให้ต่างหาก เป็นสูตรเสริม ดังจะได้แสดงไว้ต่อไปนี้

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

ในตอนที่แล้ว เราทำการรวบรวมสมการมัธยมสุริยยาตร์ สำหรับการคำนวณหาตำแหน่งมัธยม
ของแต่ละดวงดาวและจุดคำนวณต่างๆตามระบบคัมภีร์สุริยยาตร์มาแล้ว คราวนี้ มาดูกันว่า
หลังจากที่คำนวณได้ค่าของมัธยมแต่ละดาวทั้งหมดมาแล้ว จะทำการหาสมผุสกันได้อย่างไรบ้าง

ทบทวนความจำกันก่อน

มัธยม คือ ตำแหน่งดาวแบบเฉลี่ย (Mean Longitude)

สมผุส คือ ตำแหน่งดาวตามจริง (True Longitude)

ในตอนต้น เริ่มแรก ของการหาค่า จะเริ่มจากมัธยม เป็นหลักก่อน เสมอ ทุกครั้ง

เมื่อได้ค่ามัธยมทั้งหมดมาแล้ว จึงเริ่มทำการหาค่าของสมผุสแต่ละดาว กันต่อไป

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 1 ภาคสมการมัธยม

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 1 ภาคสมการมัธยม

หลังจากที่ ค้นหา และพิสูจน์ ถึง หลักเกณฑ์ ข้อบังคับ ที่แท้จริงเพื่อให้การใช้งาน สมการสุริยยาตร์ของท่านผู้รู้ เป็นไปอย่างถูกต้องและสามารถนำผลลัพธ์ไปใช้งานต่อได้  ก็ถึงเวลาแล้ว ที่จะต้องบันทึก ชุดสมการเหล่านี้ เอาไว้ก่อน เสียที (หลังจากใช้เวลาร่วม 1 ปีเศษๆ)

ส่วนเรื่องที่จะนำมาวิเคราะห์ ศึกษา หรือ แนะนำ วิธีการใช้งาน ใดๆนั้น ขอยกยอดเอาไว้ก่อน ค่อยนำเสนอกันในภายหลัง

สำหรับ สมการสุริยยาตร์ นั้น จะนำข้อมูลส่วนใหญ่มาจาก ต้นฉบับของกระทู้นี้

มหาสุริยยาตร์ ( The Great Suriyayart )

http://www.payakorn.com/webboard_ans.php?q_id=3638

อันเป็นของคุณทองคำขาว (ท่านผู้รู้) ซึ่งผู้เขียนขอขอบพระคุณท่านไว้เป็นอย่างสูง ณ โอกาสนี้

Monday, November 9, 2020

บทส่งท้าย สมการมัธยมอาทิตย์เจ้าปัญหา ต้นทางมาแบบไหน ก็คือ แบบนั้นนั่นแหละ

บทส่งท้าย สมการมัธยมอาทิตย์เจ้าปัญหา ต้นทางมาแบบไหน ก็คือ แบบนั้นนั่นแหละ 

จำได้ว่า ตั้งแต่เริ่มเปิดเวบมา ดูจะเสียเวลาไป สับสน มึนงง และลงทุนลงแรง ไปกับการพิสูจน์ซ้ำซากกับสมการมัธยม สุริยยาตร์เป็นอันมาก 
สาเหตุ เป็นเพราะว่า มีชุดสมการอยู่สองตัวที่เก็บมาได้ อันหนึ่ง เก็บได้เมื่อนานมาแล้ว เป็นแบบ A 
ส่วนอีกอันหนึ่ง เก็บมาได้ทีหลัง และเป็นก้อนข้อมูลสุดท้าย ก่อนที่จะหายไปจากสารบบการค้นหาข้อมูล เนื่องจากเจ้าของเวบต้นทาง ทิ้งการดูแลรักษาข้อมูลในส่วนนี้ไปแล้ว ขอเรียกมันว่า ชุดสมการแบบ B 
ด้วยเห็นว่า เป็นสมการสำคัญ เพราะเป็นต้นทางของการคำนวณตามระบบคัมภีร์สุริยยาตร์ มันจึงผิดไม่ได้ สองในสามของข้อมูลหน้าเวบ จึงเต็มไปด้วยการค้นหาข้อมูล เพื่อหาว่า อันไหนที่ข้าพเจ้ามีอยู่นั้น มันถูกกันแน่ 
ในระหว่างนี้ ก็ยังมีความสับสนอยู่ อันเนื่องมาจากว่า ข้อมูลชุดหลังนี้ มีการพิสูจน์รับรองเป็นอย่างดี จากท่านผู้รู้ ผู้เป็นเจ้าของข้อมูลอีกด้วย 
ในท้ายที่สุด ข้อสรุปที่ได้ออกมาในตอนนั้น ก็คือ แบบ A นี่แหละ ที่เป็นไปตามตำราเดิมและสอดคล้องกับที่มา รวมทั้งเรื่องของหรคุณที่ใช้งานสำหรับสมการแบบ A นี้ด้วย 

Sunday, November 8, 2020

บทแทรก ความสัมพันธ์ระหว่าง Julian Date กับหรคุณสุริยยาตร์

บทแทรก ความสัมพันธ์ระหว่าง Julian Date กับหรคุณสุริยยาตร์

หลังจากที่ได้นำเสนอ เรื่องของหลุมพรางหรคุณ ที่อยู่ในสมการมัธยมอาทิตย์ในแบบ B พร้อมทั้งเสนอ
หนทางแก้ไขไว้แล้ว เรียบร้อยนั้น

ในบทแทรกนี้ จะมาแนะนำถึงความสัมพันธ์พิเศษ ระหว่าง  Julian Date(JD) กับ หรคุณสุริยยาตร์(hd) ให้ทราบ

สำหรับข้อมูลนี้ ที่จริงมีเผยแพร่กันอยู่แล้ว ตามอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะใน wikipedia แต่อาจจะหลงลืมกันไปบ้าง

จึงขอนำมาเล่าใหม่อีกครั้ง ณ ที่นี้

หลุมพรางหรคุณในสมการมัธยมอาทิตย์แบบ B และแนวทางการแก้ไข

หลุมพรางหรคุณในสมการมัธยมอาทิตย์แบบ B และแนวทางการแก้ไข

หลังจากนำเสนอแนวทางแก้ไขค่ามัธยมอาทิตย์ ให้กลับมาเท่ากัน ทั้งในสมการมัธยมอาทิตย์แบบ A และ แบบ B ไปก่อนหน้านี้แล้วนั้น

เมื่อย้อนกลับมาตรวจสอบดูอีกครั้ง พบว่า ยังมีปัญหาอีกจุด ที่ต้องกลับมาแก้ไข นั่นคือเรื่องของค่าหรคุณ

เพราะค่าหรคุณที่ได้จากสมการ A กับ สมการ B มีค่าที่ไม่เท่ากัน แต่กลับคำนวณได้ค่ามัธยมอาทิตย์ออกมาได้เท่ากันหรือใกล้เคียงกันแบบเหลือเชื่อ ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้

Sunday, April 26, 2020

แนวทางแก้ไข ผลลัพธ์ สมการมัธยมอาทิตย์สุริยยาตร์ตัดพจน์ 373/800 ให้ถูกต้อง

แนวทางแก้ไข ผลลัพธ์ สมการมัธยมอาทิตย์สุริยยาตร์ตัดพจน์ 373/800 ให้ถูกต้อง
          เมื่อพูดถึง สมการมัธยมอาทิตย์สุริยยาตร์ ในที่นี้เคยกล่าวถึงมาแล้วก่อนหน้านี้ว่า มีสองสมการคือ
          มัธยมอาทิตย์ = (360/(292207/800))*(hd-373/800) - 3/60  สมการ A
           และ
           มัธยมอาทิตย์ = 360*800*(hd/292207) - 3/60  สมการ B
          ก่อนอื่น คงต้องยอมรับ ว่า สำหรับ สมการ B
           มัธยมอาทิตย์ = 360*800*(hd/292207) - 3/60
แม้ว่า ข้อมูลของสมการ B นั้น ถึงจะไม่ถูกต้องนัก แต่ก็เรียกได้ว่า น่าจะเป็นข้อมูลชุดท้ายๆ ซึ่งบรรดาผู้ที่สนใจการค้นคว้า มีเก็บรักษาไว้อยู่ก่อนที่จะหายออกไปจากสาระบบตลอดกาล อันเนื่องมาจากปัญหาทางเทคนิคด้านการดูแลบำรุงรักษาและปรับปรุงระบบของเวบไซต์ต้นทาง และส่วนหนึ่งของผู้ที่สนใจ น่าจะมีการนำสมการนี้ไปใช้งานกันบ้างแล้ว แม้การตรวจสอบในภายหลัง จะพบว่าผลการคำนวณที่ได้นั้น ไม่ถูกต้อง
ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบหาวิธีการแก้ไข เกี่ยวกับสมการ B นี้ ว่า ทำอย่างไร จึงจะสามารถแก้ไข ให้ผลลัพธ์ของการใช้งานนั้น กลับมามีความถูกต้องได้ เหมือนกับ สมการ A เพื่อป้องกัน การนำผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้องนั้น ไปใช้สำหรับการอ้างอิงเพื่อที่จะนำไปใช้งานต่อ หรือเผยแพร่ ออกไปเป็นวงกว้าง

ปริศนาคาใจ เหตุไฉน สมการท่านผู้รู้ จึงไม่ถูกต้อง


ปริศนาคาใจ เหตุไฉน สมการท่านผู้รู้ จึงไม่ถูกต้อง
ภายหลังการทำบทความ เริ่มทดสอบสมการสุริยยาตร์ เพื่อแก้ไขข้อสงสัยและเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้ กับ สมการมัธยมอาทิตย์สุริยยาตร์ ที่มีอยู่ในมือทั้งสองสมการคือ
มัธยมอาทิตย์ = (360/(292207/800))*(hd-373/800) - 3/60  สมการ A
และ
มัธยมอาทิตย์ = 360*800*(hd/292207) - 3/60  สมการ B
ว่าอย่างไหน มีความถูกต้อง
โดยอาศัยผลการคำนวณเชิงเปรียบเทียบเป็นกรณีศึกษาจากท่านผู้รู้อีกท่านหนึ่ง ได้นำเอา สมการสุริยยาตร์ ที่ตัดเอา พจน์ 373/800 ออกไป มาใช้ในการคำนวณ มาสอบทานซ้ำ เพิ่มเติม
จนได้ข้อสรุปออกมาว่า ผลที่ได้จากสมการแบบ A นั่นแหละ เป็นผลลัพธ์ที่ถูกต้อง
แต่ใน ปัจจุบัน ต้องยอมรับว่า ในผลการค้นหาต่างๆ สำหรับรูปแบบของสมการที่พบเจอ นั้นอยู่ในรูปแบบของ สมการ B เป็นส่วนใหญ่ เพราะเหตุว่า มันเป็นข้อมูลชุดสุดท้ายที่ยังพอเหลืออยู่ ก่อนที่จะหายไปจากสาระบบการค้นหา เนื่องมาจากความผิดพลาดของระบบเวบไซต์ต้นทางที่ไม่มีการแก้ไขจากทางทีมงานผู้ดูแล เลยกลายเป็นว่า ข้อมูลของสมการแบบ B นั้น เผยแพร่ไปได้มากกว่า
จึงเป็นที่มาของ บทความปริศนาคาใจ ในเรื่องนี้