Wednesday, December 16, 2020

กรณีศึกษาพิเศษ2 หลุมพรางหรคุณ เมื่อหรคุณไม่เท่ากันแต่สมผุสนั้นใช่

 กรณีศึกษาพิเศษ2 หลุมพรางหรคุณ เมื่อหรคุณไม่เท่ากันแต่สมผุสนั้นใช่

นึกไม่ถึงว่า จะได้เจอตัวอย่างของหลุมพรางหรคุณจากการใช้งานจริง ซึ่งทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ผิดเพี้ยนไปในระดับหนึ่ง จนกระทั่งพบเจอปัญหาที่คุณเพิ่งหัดได้เคยตั้งคำถามเอาไว้

กรณีศึกษาพิเศษ ทำไมได้สมผุสไม่ตรงกัน

 กรณีศึกษาพิเศษ ทำไมได้สมผุสไม่ตรงกัน

 กรณีศึกษาพิเศษ ทำไมได้สมผุสไม่ตรงกันทั้งที่มาจากตำราเดียวกัน

เรื่องนี้ แทรกอยู่ในกระทู้ ต้นฉบับ ตามนี้

http://www.payakorn.com/webboard_ans.php?q_id=3638

มหาสุริยยาตร์ ( The Great Suriyayart )

อันเป็นต้นทางของข้อมูลที่ใช้เรียบเรียงชุดสมการสุริยยาตร์ขึ้นมาใหม่

ที่มาของเรื่องนี้ มาจากการถามตอบกันระหว่างคุณ เพิ่งหัด กับ คุณทองคำขาว ท่านผู้รู้

แต่จากการวินิจฉัยของท่านผู้รู้ เมื่ออ่านแล้ว มีลักษณะมึนงง ทั้งผู้ตอบและผู้ถาม ส่งผลให้คำตอบของคำถามแท้จริงก็ยังไม่ได้รับการตอบ

ประการแรก ผู้ถามยังไม่ได้รับคำตอบชัดๆว่า ทำไมจึงไม่ตรงกัน แต่ได้รับคำตอบเป็นข้อสันนิษฐานเชิงวิชาการแทน เช่น วิธีการหาค่ามัธยม สมผุส การใช้เกณฑ์ประมาณค่าที่แตกต่างกัน ทั้งในคัมภีร์แต่ละฉบับและในแต่ละวิธีการคำนวณตามโปรแกรม เป็นต้น

ประการที่สอง แทนที่คำถามแรกจะจบลง ผู้ถามกลับถามปัญหาอื่นตามเข้ามาด้วยคือเรื่องของสมผุสของดาวอื่นๆ ที่พบว่า มันไม่ตรงตามความเป็นจริง เช่นกัน ประกอบกับการตอบปัญหาแบบร่ายยาวจนมึนงง ทั้งผู้ตอบและผู้ถาม ที่ผลสรุปก็คือ มีเลขเกณฑ์บางส่วนผิดพลาด ต้องแก้ไขใหม่หมด และสุดท้าย เรื่องแลดูจะลงล็อกว่า ไปด้วยกันได้ เพราะสมผุสเสาร์นั้น ตรงกันแล้ว อันเป็นคำตอบที่น่าจะพอใจสำหรับผู้ถาม ทำให้คำถามที่ถามไว้แต่แรก ก็ยังคงไม่ทราบคำตอบแท้จริงอยู่ดี ในท้ายที่สุด

คำถามมีอยู่ว่า คิดว่า คำอธิบายเหล่านั้น น่าเชื่อถือได้ และใช้งานได้แล้วจริงๆ ใช่หรือไม่

คำตอบคือ ใช่ ณ ขณะเวลานั้น แต่เมื่อ ลองย้อนกลับมาตรวจสอบดู จึงรู้ว่า ความเป็นจริง มันไม่ใช่

เป็นกรณีศึกษาที่ดี และเป็นอุทาหรณ์ให้กับเรื่องของหรคุณข้ามระบบ ได้อย่างดีด้วยเช่นกัน

Saturday, December 12, 2020

Julian Date หรรษา

Julian Date หรรษา 

มาแปลกหน่อย สำหรับตอนนี้  
ขอรวบรวมสูตรหา Julian Date ไว้สักนิด เพื่อ ประโยชน์ในการวิเคราะห์ค่าหรคุณแบบต่างๆ ในอนาคต 
สูตร Julian Date (หรคุณจูเลียน) 
เนื่องจากนิยามแท้จริงของ Julian Date คือ การกำหนดนับวันสะสม นิยาม ณ เวลาเที่ยงวัน ณ เมืองกรีนิช สูตรโดยส่วนใหญ่ที่พบ มักจะเป็นไปตามนี้ ผลลัพธ์ที่ได้ เป็นเลขจำนวนเต็ม แต่สามารถปรับเวลาให้เป็นเที่ยงคืนได้ด้วยการหักลบไปอีก 0.5 
เพื่อให้ทางนักดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ได้ใช้งานกันอย่างเหมาะสม กล่าวคือ 
หรคุณจูเลียน ณ วันเวลาใด ๆ มีค่าเท่ากับหรคุณจูเลียน ลดลงเสีย 0.5 (เพราะนับที่เที่ยงวันเป็นหลักต้องถอยไปที่เที่ยงคืน) แล้วจึงเอาเวลาเป็นทศนิยมนับแต่เริ่มวันนั้นบวกเข้า 
ข้อความนี้นำมาจากส่วนหนึ่งของ https://th.wikipedia.org/wiki/หรคุณจูเลียน 
อ่านดูแล้วเห็นว่า อธิบายได้ดี เลยขอนำมาใส่ไว้เสียเลย