Thursday, May 6, 2021

การพิสูจน์สร้าง สมการสมผุสสุริยยาตร์จากท่านผู้รู้

 การพิสูจน์สร้าง สมการสมผุสสุริยยาตร์จากท่านผู้รู้ 

บทนำ

นับเนื่องมาเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปีแล้ว ที่ผู้เขียนได้ขลุกอยู่กับ วิธีการ ตามเนื้อความที่ท่านผู้รู้(คุณทองคำขาว)

ได้นำเสนอทิ้งไว้ในกระทู้นี้

http://www.payakorn.com/webboard_ans.php?q_id=3638

มหาสุริยยาตร์ ( The Great Suriyayart )

ซึ่งวิธีการในนั้น มีทั้งที่ถูกและที่ผิด ปะปนกันอยู่

หากไม่นับรวมถึงวิธีการค้นหาข้อผิดพลาดด้วยการพิสูจน์ซ้ำซาก จนที่สุดก็ได้พบกับบทอวสานของสมการมัธยมอาทิตย์เจ้าปัญหา ที่ทำให้เสียทั้งแรง และเวลาในการลงมือวิเคราะห์เจาะลึก

ก็ยังคงนับถือในความอุตสาหะของท่าน ที่ได้สละเวลาและความรู้ส่วนหนึ่ง ในการค้นคว้าและพิสูจน์ในแบบที่เรียกว่า Well Define สำหรับชุดสมการต่างๆ ตามที่ผู้เขียนได้อพยพ โยกย้ายมาใส่ไว้ ณ ที่นี้ พร้อมทั้งเขียนเพิ่มเติม เป็นหมายเหตุประกอบการใช้งานสมการ เพื่อให้ได้งานที่ละเอียด ถี่ถ้วนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน สามารถอ้างอิงคำตอบไปใช้ได้อย่างถูกต้อง เป็นไปตามหลักวิชาการ(อย่างน้อยๆ ในแง่ของวิชาคณิตศาสตร์ กับวิทยาศาสตร์ หลักการก็ไม่ควรจะผิด)

อย่างไรก็ตาม ขอให้ยึดถือไว้เสมอ ว่า สมการมัธยมอาทิตย์ตัดพจน์ 373/800 ออกนั้น ไม่มีอยู่จริง

Monday, April 26, 2021

Temple Boxing Proof บทพิสูจน์ สมการมัธยมจันทร์ของท่านผู้รู้ เชิงวงรอบ แบบบ้านๆ

 Temple Boxing Proof บทพิสูจน์ สมการมัธยมจันทร์ของท่านผู้รู้ เชิงวงรอบ แบบบ้านๆ

Temple Boxing Proof: Mean Moon Of Suryayart Equations

สิ่งที่ต้องทราบก่อน

ในที่นี้ จะเน้นไปที่วิธีการพิสูจน์สร้างสมการมัธยมจันทร์ขึ้นมาเลย จากหลักเกณฑ์ของคัมภีร์
สุริยยาตร์ สำหรับหลักเกณฑ์รวมถึงคำศัพท์เฉพาะต่างๆที่เกี่ยวข้องในคัมภีร์ ขอยกไว้
ไม่อธิบาย

เช่นเดียวกันกับ แนวทางพิสูจน์สร้างสมการมัธยมอาทิตย์ เราจะใช้แนวคิดดังนี้

แนวคิดสันนิษฐาน:

ยึดแนวทางการสร้างสมการ มัธยมอาทิตย์ จาก วงรอบ ตามสูตรของคัมภีร์สุริยยาตร์

แต่เปลี่ยนวงรอบจากการคิดของอาทิตย์ไปเป็นของจันทร์แทน

(สำหรับหลักเกณฑ์หามัธยมจันทร์ของคัมภีร์สุริยยาตร์นั้น สามารถหาได้ทั่วไปอยู่แล้วในโลกอินเตอร์เน็ต ขอยกไว้ ไม่นำมาแสดงในที่นี้)

จากหลักเกณฑ์ที่อยู่ในคัมภีร์นั้น ถอดเป็นสมการ พอเป็นสังเขปได้ดังนี้

K+Res = [(11xhd)+650]/692

K+awamanutta =[(11xhd)+650]/692

awamanutta = [[(11xhd)+650]-(692xK)]/692

 เมื่อ K คือ ผลลัพธ์จากการหาร และ Res คือ อวมานอัตตา

จากนั้น นำ K ไปบวกกับ hdแล้วหารด้วย 30 ผลที่ได้คือ massauttaและ thitiutta ดังนี้

massautta + thitiutta = (hd+K)/30

thitiutta = {[(hd+K)]-(massauttax30)}/30

เมื่อ massautta คือ มาสเกณฑ์อัตตา และ thitiutta คือ ดิถีอัตตา

Temple Boxing Proof พิสูจน์ สมการมัธยมอาทิตย์ของท่านผู้รู้ เชิงวงรอบ แบบบ้านๆ

Temple Boxing Proof พิสูจน์ สมการมัธยมอาทิตย์ของท่านผู้รู้ เชิงวงรอบ แบบบ้านๆ

Temple Boxing Proof: Mean Sun of Suryayart Equations

สิ่งที่ต้องทราบก่อน

ในที่นี้ จะเน้นไปที่วิธีการพิสูจน์สร้างสมการมัธยมขึ้นมาเลย จากหลักเกณฑ์การคิดวงรอบตามวิธีการของคัมภีร์สุริยยาตร์ สำหรับวิธีการรวมถึงคำศัพท์เฉพาะต่างๆที่เกี่ยวข้องในคัมภีร์ ขอยกไว้ ไม่อธิบาย

เริ่มบทพิสูจน์

ก่อนอื่น เราต้องกำหนดตัวแปรขึ้นมาก่อน ดังนี้ 
หรคุณ 0 . เป็น hd 0 nor (หรคุณก่อนเถลิงศก)
หรคุณ        เป็น hd (หรคุณเถลิงศก,หรคุณอัตตา)

หรคุณ 0 . วันประสงค์ หรือ หรคุณเที่ยงคืนวันประสงค์ เป็น hd 0 nor req

หรคุณวันประสงค์ เป็น hdreq

สุทิน เป็น sutin
จุลศักราช เป็น J

ส่วน หรคุณ ได้กำหนดความสัมพันธ์ต่างๆ และตั้งเป็นสมการไว้ ดังนี้(ไม่อธิบาย)

hd=hd 0nor+1

hd req=sutin+hd

hd 0nor req=sutin+hd 0nor

hd req=hd 0nor req+1

Temple Boxing Proof พิสูจน์ สมการสุริยยาตร์ของท่านผู้รู้แบบบ้านๆ ภาคอารัมภบท

 Temple Boxing Proof พิสูจน์ สมการสุริยยาตร์ของท่านผู้รู้แบบบ้านๆ ภาคอารัมภบท

เรื่องนี้ เป็นแนวทางพิสูจน์สร้างสมการมัธยมอาทิตย์และมัธยมจันทร์ ที่ทำไว้ เมื่อราว 1 ปีก่อน  เป็นเรื่องที่น่าภูมิใจเล็กๆเนื่องจากเป็นแนวทางแรกที่สามารถพิสูจน์ออกมาได้ และได้นำแนวทางจากการพิสูจน์สร้างสมการมัธยมอาทิตย์นี้ไปเป็นรากฐานเพื่อใช้ในการพิสูจน์สร้างสมการมัธยมจันทร์ในเวลาต่อมาด้วย ก่อนที่จะมีการคิดวิธีพิสูจน์สำหรับสมการมัธยมอาทิตย์ได้ในอีกแนวทางหนึ่งคือการคิดตามเกณฑ์เก่าทั้งหมดร่วมกับการใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ปัจจุบันเข้าช่วย ซึ่งก็ถือเป็นวิธีการพิสูจน์อีกแนวหนึ่ง แต่ให้ผลลัพธ์ออกมาแบบเดียวกัน (อันนี้ เฉพาะมัธยมอาทิตย์นะครับ ส่วนมัธยมจันทร์นี้ ยังไม่สามารถ)

สำหรับพื้นฐานที่ใช้สำหรับการพิสูจน์สร้างสมการ จะเป็นการพิสูจน์ด้วยวิธีการเชิงวงรอบร่วมการพิจารณาตัวแปร มิติ หน่วย ต่างๆ ในตัวสมการ ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่าง การใช้เกณฑ์หลักคิดวงรอบของตัวคัมภีร์ร่วมกับวิธีการวิเคราะห์มิติของตัวแปรในวิชาฟิสิกส์ เพื่อใช้สำหรับตรวจสอบสมการ กล่าวคือถ้าหากเป็นสมการที่คิดมาถูกต้องแล้ว ทั้งสองข้างของสมการจะต้องมีมิติเดียวกัน(หน่วยเดียวกัน)

Friday, April 23, 2021

บทพิสูจน์สร้าง สมการมัธยมอาทิตย์จากเกณฑ์เดิมในคัมภีร์สุริยยาตร์

 บทพิสูจน์สร้าง สมการมัธยมอาทิตย์จากเกณฑ์เดิมในคัมภีร์สุริยยาตร์


สิ่งที่ต้องทราบก่อน


ในที่นี้ จะเน้นไปที่วิธีการพิสูจน์สร้างสมการมัธยมขึ้นมาเลย จากเกณฑ์เดิม

สำหรับวิธีการตามคัมภีร์สุริยยาตร์ รวมถึงคำศัพท์เฉพาะต่างๆที่เกี่ยวข้อง ขอยกไว้ ไม่อธิบาย


เริ่มบทพิสูจน์


ก่อนอื่น เราต้องกำหนดตัวแปรขึ้นมาก่อน ดังนี้

หรคุณ เป็น hd 0 nor (หรคุณก่อนเถลิงศก)


หรคุณ เป็น hd (หรคุณเถลิงศก,หรคุณอัตตา)

หรคุณ วันประสงค์ หรือ หรคุณเที่ยงคืนวันประสงค์ เป็น hd 0 nor req

หรคุณวันประสงค์ เป็น hdreq

สุทิน เป็น sutin

จุลศักราช เป็น J


กัมมัชพลอัตตา เป็น kammat


ส่วน หรคุณ ได้กำหนดความสัมพันธ์ต่างๆ และตั้งเป็นสมการไว้ ดังนี้(ไม่อธิบาย)

hd=hd0nor+1

hdreq=sutin+hd

hd0norreq=sutin+hd0nor

hdreq=hd0norreq+1



****************************************

Wednesday, December 16, 2020

กรณีศึกษาพิเศษ2 หลุมพรางหรคุณ เมื่อหรคุณไม่เท่ากันแต่สมผุสนั้นใช่

 กรณีศึกษาพิเศษ2 หลุมพรางหรคุณ เมื่อหรคุณไม่เท่ากันแต่สมผุสนั้นใช่

นึกไม่ถึงว่า จะได้เจอตัวอย่างของหลุมพรางหรคุณจากการใช้งานจริง ซึ่งทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ผิดเพี้ยนไปในระดับหนึ่ง จนกระทั่งพบเจอปัญหาที่คุณเพิ่งหัดได้เคยตั้งคำถามเอาไว้

กรณีศึกษาพิเศษ ทำไมได้สมผุสไม่ตรงกัน

 กรณีศึกษาพิเศษ ทำไมได้สมผุสไม่ตรงกัน

 กรณีศึกษาพิเศษ ทำไมได้สมผุสไม่ตรงกันทั้งที่มาจากตำราเดียวกัน

เรื่องนี้ แทรกอยู่ในกระทู้ ต้นฉบับ ตามนี้

http://www.payakorn.com/webboard_ans.php?q_id=3638

มหาสุริยยาตร์ ( The Great Suriyayart )

อันเป็นต้นทางของข้อมูลที่ใช้เรียบเรียงชุดสมการสุริยยาตร์ขึ้นมาใหม่

ที่มาของเรื่องนี้ มาจากการถามตอบกันระหว่างคุณ เพิ่งหัด กับ คุณทองคำขาว ท่านผู้รู้

แต่จากการวินิจฉัยของท่านผู้รู้ เมื่ออ่านแล้ว มีลักษณะมึนงง ทั้งผู้ตอบและผู้ถาม ส่งผลให้คำตอบของคำถามแท้จริงก็ยังไม่ได้รับการตอบ

ประการแรก ผู้ถามยังไม่ได้รับคำตอบชัดๆว่า ทำไมจึงไม่ตรงกัน แต่ได้รับคำตอบเป็นข้อสันนิษฐานเชิงวิชาการแทน เช่น วิธีการหาค่ามัธยม สมผุส การใช้เกณฑ์ประมาณค่าที่แตกต่างกัน ทั้งในคัมภีร์แต่ละฉบับและในแต่ละวิธีการคำนวณตามโปรแกรม เป็นต้น

ประการที่สอง แทนที่คำถามแรกจะจบลง ผู้ถามกลับถามปัญหาอื่นตามเข้ามาด้วยคือเรื่องของสมผุสของดาวอื่นๆ ที่พบว่า มันไม่ตรงตามความเป็นจริง เช่นกัน ประกอบกับการตอบปัญหาแบบร่ายยาวจนมึนงง ทั้งผู้ตอบและผู้ถาม ที่ผลสรุปก็คือ มีเลขเกณฑ์บางส่วนผิดพลาด ต้องแก้ไขใหม่หมด และสุดท้าย เรื่องแลดูจะลงล็อกว่า ไปด้วยกันได้ เพราะสมผุสเสาร์นั้น ตรงกันแล้ว อันเป็นคำตอบที่น่าจะพอใจสำหรับผู้ถาม ทำให้คำถามที่ถามไว้แต่แรก ก็ยังคงไม่ทราบคำตอบแท้จริงอยู่ดี ในท้ายที่สุด

คำถามมีอยู่ว่า คิดว่า คำอธิบายเหล่านั้น น่าเชื่อถือได้ และใช้งานได้แล้วจริงๆ ใช่หรือไม่

คำตอบคือ ใช่ ณ ขณะเวลานั้น แต่เมื่อ ลองย้อนกลับมาตรวจสอบดู จึงรู้ว่า ความเป็นจริง มันไม่ใช่

เป็นกรณีศึกษาที่ดี และเป็นอุทาหรณ์ให้กับเรื่องของหรคุณข้ามระบบ ได้อย่างดีด้วยเช่นกัน