Sunday, November 22, 2020

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 4 ภาคสูตรมัธยมกับสมผุสราหู ทำใหม่

 รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 4 ภาคสูตรมัธยมกับสมผุสราหู ทำใหม่

ในตอนที่แล้ว ได้มีบทส่งท้ายของสมการสุริยยาตร์ อันเนื่องมาจากเหตุของราหู เพราะท่านผู้รู้ได้พบว่า ค่าตำแหน่งของราหูในคัมภีร์สุริยยาตร์กับสารัมภ์ มีความแตกต่างอันหนึ่งอยู่ จึงได้ทำการค้นคว้าเพิ่มเติม จนได้มาซึ่งสูตรพิเศษเกี่ยวกับตำแหน่งของราหูที่ปรับปรุงใหม่ สำหรับรายละเอียดจะเป็นอย่างไร ขอเชิญพิจารณาได้เลย

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 3 ภาคสูตรเสริม

 รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 3 ภาคสูตรเสริม

ในตอนที่แล้ว ทิ้งท้ายเอาไว้ ว่า ในผลการคำนวณของทุกสมการ ตั้งแต่ มัธยมและสมผุส จะมีค่าเป็น
องศาจำนวนจริง ทั้งหมด ซึ่งมีค่าของผลลัพธ์ในจำนวนหลักตัวเลขที่มากและเกินกว่า
1 รอบของวงกลม (360 องศา)
จึงจำเป็นที่จะต้องทำการทอนรอบต่างๆที่คำนวณได้ ให้กลับมามีค่าไม่เกิน 360 องศา ทั้งหมด
เพื่อความง่ายในการพิจารณาและการคำนวณ

ซึ่งท่านผู้รู้เอง ก็ไม่ได้ละเลยในเรื่องนี้ จึงได้ทำสูตรแยกไว้ให้ต่างหาก เป็นสูตรเสริม ดังจะได้แสดงไว้ต่อไปนี้

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

ในตอนที่แล้ว เราทำการรวบรวมสมการมัธยมสุริยยาตร์ สำหรับการคำนวณหาตำแหน่งมัธยม
ของแต่ละดวงดาวและจุดคำนวณต่างๆตามระบบคัมภีร์สุริยยาตร์มาแล้ว คราวนี้ มาดูกันว่า
หลังจากที่คำนวณได้ค่าของมัธยมแต่ละดาวทั้งหมดมาแล้ว จะทำการหาสมผุสกันได้อย่างไรบ้าง

ทบทวนความจำกันก่อน

มัธยม คือ ตำแหน่งดาวแบบเฉลี่ย (Mean Longitude)

สมผุส คือ ตำแหน่งดาวตามจริง (True Longitude)

ในตอนต้น เริ่มแรก ของการหาค่า จะเริ่มจากมัธยม เป็นหลักก่อน เสมอ ทุกครั้ง

เมื่อได้ค่ามัธยมทั้งหมดมาแล้ว จึงเริ่มทำการหาค่าของสมผุสแต่ละดาว กันต่อไป

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 1 ภาคสมการมัธยม

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 1 ภาคสมการมัธยม

หลังจากที่ ค้นหา และพิสูจน์ ถึง หลักเกณฑ์ ข้อบังคับ ที่แท้จริงเพื่อให้การใช้งาน สมการสุริยยาตร์ของท่านผู้รู้ เป็นไปอย่างถูกต้องและสามารถนำผลลัพธ์ไปใช้งานต่อได้  ก็ถึงเวลาแล้ว ที่จะต้องบันทึก ชุดสมการเหล่านี้ เอาไว้ก่อน เสียที (หลังจากใช้เวลาร่วม 1 ปีเศษๆ)

ส่วนเรื่องที่จะนำมาวิเคราะห์ ศึกษา หรือ แนะนำ วิธีการใช้งาน ใดๆนั้น ขอยกยอดเอาไว้ก่อน ค่อยนำเสนอกันในภายหลัง

สำหรับ สมการสุริยยาตร์ นั้น จะนำข้อมูลส่วนใหญ่มาจาก ต้นฉบับของกระทู้นี้

มหาสุริยยาตร์ ( The Great Suriyayart )

http://www.payakorn.com/webboard_ans.php?q_id=3638

อันเป็นของคุณทองคำขาว (ท่านผู้รู้) ซึ่งผู้เขียนขอขอบพระคุณท่านไว้เป็นอย่างสูง ณ โอกาสนี้

Monday, November 9, 2020

บทส่งท้าย สมการมัธยมอาทิตย์เจ้าปัญหา ต้นทางมาแบบไหน ก็คือ แบบนั้นนั่นแหละ

บทส่งท้าย สมการมัธยมอาทิตย์เจ้าปัญหา ต้นทางมาแบบไหน ก็คือ แบบนั้นนั่นแหละ 

จำได้ว่า ตั้งแต่เริ่มเปิดเวบมา ดูจะเสียเวลาไป สับสน มึนงง และลงทุนลงแรง ไปกับการพิสูจน์ซ้ำซากกับสมการมัธยม สุริยยาตร์เป็นอันมาก 
สาเหตุ เป็นเพราะว่า มีชุดสมการอยู่สองตัวที่เก็บมาได้ อันหนึ่ง เก็บได้เมื่อนานมาแล้ว เป็นแบบ A 
ส่วนอีกอันหนึ่ง เก็บมาได้ทีหลัง และเป็นก้อนข้อมูลสุดท้าย ก่อนที่จะหายไปจากสารบบการค้นหาข้อมูล เนื่องจากเจ้าของเวบต้นทาง ทิ้งการดูแลรักษาข้อมูลในส่วนนี้ไปแล้ว ขอเรียกมันว่า ชุดสมการแบบ B 
ด้วยเห็นว่า เป็นสมการสำคัญ เพราะเป็นต้นทางของการคำนวณตามระบบคัมภีร์สุริยยาตร์ มันจึงผิดไม่ได้ สองในสามของข้อมูลหน้าเวบ จึงเต็มไปด้วยการค้นหาข้อมูล เพื่อหาว่า อันไหนที่ข้าพเจ้ามีอยู่นั้น มันถูกกันแน่ 
ในระหว่างนี้ ก็ยังมีความสับสนอยู่ อันเนื่องมาจากว่า ข้อมูลชุดหลังนี้ มีการพิสูจน์รับรองเป็นอย่างดี จากท่านผู้รู้ ผู้เป็นเจ้าของข้อมูลอีกด้วย 
ในท้ายที่สุด ข้อสรุปที่ได้ออกมาในตอนนั้น ก็คือ แบบ A นี่แหละ ที่เป็นไปตามตำราเดิมและสอดคล้องกับที่มา รวมทั้งเรื่องของหรคุณที่ใช้งานสำหรับสมการแบบ A นี้ด้วย 

Sunday, November 8, 2020

บทแทรก ความสัมพันธ์ระหว่าง Julian Date กับหรคุณสุริยยาตร์

บทแทรก ความสัมพันธ์ระหว่าง Julian Date กับหรคุณสุริยยาตร์

หลังจากที่ได้นำเสนอ เรื่องของหลุมพรางหรคุณ ที่อยู่ในสมการมัธยมอาทิตย์ในแบบ B พร้อมทั้งเสนอ
หนทางแก้ไขไว้แล้ว เรียบร้อยนั้น

ในบทแทรกนี้ จะมาแนะนำถึงความสัมพันธ์พิเศษ ระหว่าง  Julian Date(JD) กับ หรคุณสุริยยาตร์(hd) ให้ทราบ

สำหรับข้อมูลนี้ ที่จริงมีเผยแพร่กันอยู่แล้ว ตามอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะใน wikipedia แต่อาจจะหลงลืมกันไปบ้าง

จึงขอนำมาเล่าใหม่อีกครั้ง ณ ที่นี้

หลุมพรางหรคุณในสมการมัธยมอาทิตย์แบบ B และแนวทางการแก้ไข

หลุมพรางหรคุณในสมการมัธยมอาทิตย์แบบ B และแนวทางการแก้ไข

หลังจากนำเสนอแนวทางแก้ไขค่ามัธยมอาทิตย์ ให้กลับมาเท่ากัน ทั้งในสมการมัธยมอาทิตย์แบบ A และ แบบ B ไปก่อนหน้านี้แล้วนั้น

เมื่อย้อนกลับมาตรวจสอบดูอีกครั้ง พบว่า ยังมีปัญหาอีกจุด ที่ต้องกลับมาแก้ไข นั่นคือเรื่องของค่าหรคุณ

เพราะค่าหรคุณที่ได้จากสมการ A กับ สมการ B มีค่าที่ไม่เท่ากัน แต่กลับคำนวณได้ค่ามัธยมอาทิตย์ออกมาได้เท่ากันหรือใกล้เคียงกันแบบเหลือเชื่อ ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้