Sunday, November 24, 2019

เริ่มทดสอบสมการสุริยยาตร์


เริ่มทดสอบสมการสุริยยาตร์
จากการสืบค้นข้อมูลในอินเตอร์เน็ต ณ ช่วงเวลาที่ผ่านมา พบว่า มีผู้รู้ท่านหนึ่งได้นำเอา สมการสุริยยาตร์ ที่ตัดเอา พจน์ 373/800 ออกไป มาคำนวณและนำผลที่ได้ไปเปรียบเทียบเชิงกรณีศึกษา กับโมดูลอันหนึ่งที่ท่านทำขึ้นมา
เพราะเรื่องนั้น ทำให้เกิดมีข้อสงสัยสำหรับผู้เขียนว่า ในเมื่อสมการตัวนั้น พิสูจน์พบแล้วว่า มันดูไม่ถูกต้องเมื่อไล่เรียงกันมาจากประวัติของมัน ถ้าหากใช้กับสมการที่เป็นไปตามประวัติการสร้างสูตรของมันขึ้นมาล่ะ ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นอย่างไร
บัดนี้ ถึงเวลาที่ต้องนำมันมาเพื่อทดสอบกันเสียที หลังจากที่ทำการพิสูจน์หา ทั้งหาว่า สมการที่ต้องใช้อันไหนถูก และ หรคุณอันไหนที่ต้องแทนค่าลงในสูตร จึงจะถูกต้อง ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้สร้างข้อมูลที่ผู้เขียนอยากเก็บรักษาไว้นั้น ไม่เคยบอกหรือชี้แจงกำกับเอาไว้ ทำให้ต้องเสียสละเวลาทำมันขึ้นมา และทำให้การจัดการข้อมูลของผู้เขียนนั้น มีภาระ ที่เพิ่มขึ้น เพราะต้องคอยมาเช็คความถูกต้องให้ดี ก่อนนำปล่อยออกไป

บทพิสูจน์ ตามล่าหาหรคุณใช้งาน


บทพิสูจน์ ตามล่าหาหรคุณใช้งาน
หลังจากที่ ทดสอบและพิสูจน์กันไปแล้วสำหรับสมการมัธยมอาทิตย์สุริยยาตร์ ที่มีอยู่ ว่าตัวไหนกันแน่ ที่ถูก
จนได้คำตอบออกมาแล้วว่า เป็นเจ้าตัวที่มีพจน์ (373/800) อยู่ในสมการด้วย นั่นเอง
สรุปก็คือ สำหรับเวบไซต์แห่งนี้ ข้อมูลสมการมัธยมอาทิตย์สุริยยาตร์ ที่จะบันทึกไว้ที่นี่
 จะใช้เป็นสมการตัวนี้ ก็คือ
                               มัธยมอาทิตย์ = (360/(292207/800))*(hd-373/800) - 3/60
สูตร มัธยมอาทิตย์ หรือ MeanSun
$มัธยมอาทิตย์(MeanSun)=[(\frac{(360*800)}{292207})*((hd)-(\frac{373}{800}))]-(\frac{3}{60})$



หลังจากทราบรูปแบบไปแล้วว่า สมการตัวไหนกันแน่ที่มันถูก คำถามต่อมาก็คือ ค่าหรคุณที่ต้องแทนค่าลงไปในสมการนั้นล่ะ ต้องเป็นหรคุณตัวไหน ???

Saturday, November 23, 2019

บอกเล่า ผลกระทบ สมการมัธยมอาทิตย์สุริยยาตร์


บอกเล่า ผลกระทบ สมการมัธยมอาทิตย์สุริยยาตร์
หลังจากที่ ผู้เขียนได้ นำเสนอเรื่องที่ว่า มี สมการมัธยมอาทิตย์สุริยยาตร์ 1 ใน 2 ตัว ที่ผู้เขียน มีอยู่นั้น ไม่ถูกต้อง และได้ฟันธงออกไปแล้วว่า เป็นแบบ ที่ไม่มีพจน์ 373/800 อยู่ในสมการนั้น
เมื่อย้อนกลับมาพิจารณาดู ข้อมูลที่เผยแพร่กันอยู่ตามเวบไซต์ต่างๆ พบว่า
มีผลกระทบที่เกิดจาก ความไม่ถูกต้องของสมการมัธยมอาทิตย์สุริยยาตร์ แน่นอนแล้วอย่างน้อยๆก็ใน เวบไซต์แห่งหนึ่งของท่านผู้รู้อีกท่านหนึ่ง ที่แม้ท่านจะออกตัวว่า เป็นค่าจากสมการที่ไม่มีการตัดประมาณค่าและไม่ใช่ค่าในเชิงคตินิยมที่คำนวณกันโดยทั่วไป แต่เนื่องจากไม่ทราบเหตุผลที่แท้จริงของการตัดให้ พจน์ 373/800 หายออกไปเฉยๆจากสมการ เหลือเพียงแค่ค่า 3/60 องศา แค่นั้น ได้ ฉะนั้น ผู้เขียนจึงขอฝากไว้ให้เป็นวิจารณญาณ ของแต่ละบุคคลและแต่ละท่าน สุดแต่จะพิจารณากันเอาเองก็แล้วกัน สำหรับเราผู้น้อยนั้น ไม่อาจจะไปเทียบเคียงหรือคัดง้างใดๆกับท่านเหล่านั้นอันเป็นผู้ทรงภูมิความรู้ได้ เพราะสมการตัวที่ถูกตัดพจน์ 373/800 ออกไปนั้น ก็มีแพร่หลายกันมานานได้สักพักหนึ่งแล้ว อาจมีใครนำเอาไปใช้ แล้วได้ผลดี ก็เป็นได้ เลยไม่อยากที่จะไปคัดค้านใดๆ อะไร กับใคร
แต่สำหรับ ที่แห่งนี้ ผู้เขียน คงจะปล่อยให้สิ่งนี้ ผ่านไป ไม่ได้

Sunday, November 17, 2019

ปริศนา สมการกลางมัธยมอาทิตย์สุริยยาตร์ อันไหนถูก


ปริศนา สมการกลางมัธยมอาทิตย์สุริยยาตร์ อันไหนถูก???
ว่าด้วยเรื่อง สมการกลางมัธยมอาทิตย์สุริยยาตร์ อย่างไหนถูกต้องกันแน่
สืบเนื่องมาจาก ความต้องการในการเก็บข้อมูลที่มีคุณค่า สำหรับวิชาการของ คัมภีร์สุริยยาตร์ ไว้เพื่อช่วยประกอบการคำนวณบางประการ แต่กลับพบว่า ข้อมูลที่ตัวเองมี กับที่เพิ่งหาเก็บมาได้ช่วงก่อนหน้านี้
มันมีอะไรที่ไม่เหมือนกันอยู่ สรุปแล้ว อันไหนกันแน่ ที่ถูก
ออกตัวไว้ก่อนว่า ผู้เขียน ไม่ได้ มีพื้นหรือภูมิความรู้อะไร ที่เทียบเท่าได้ กับ บรรดาท่านผู้รู้ ทั้งหลายเหล่านั้นมากนัก เป็นแต่เพียงว่า ต้องการเก็บรักษาข้อมูลที่ทรงคุณค่านี้เอาไว้ให้ดีที่สุด ดังนั้น จึงมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะทำให้ข้อมูลที่ได้มานั้น มีความถูกต้องใกล้เคียงกับหลักวิชาการและความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ของตัววิชาเอง อย่างสุดปัญญาความสามารถของผู้เขียนเองที่สุด เท่าที่จะทำให้ได้ ก็เพียงเท่านั้น
อันดับแรก เรามาเริ่มต้นพิจารณาดูสมการเจ้าปัญหาตัวนี้กันก่อน แต่ถึงอย่างไรก็ต้องขอขอบคุณ ท่านผู้รู้ท่านนั้น ที่ได้สละเวลา ค้นคว้า วิจัยจนได้มาซึ่งสมการที่มีปัญหาสองตัวนี้
สมการที่ว่านั้น คือ สมการหามัธยมอาทิตย์ ซึ่งอยู่ในหัวข้อ มหาสุริยยาตร์ The Great Suriyayart เป็นบทความของท่านผู้รู้ท่านนั้น นั่นเอง
โดย ตัวสมการที่ผู้เขียนมีอยู่ เป็นดังนี้
มัธยมอาทิตย์ = (360/(292207/800))*(hd-373/800) - 3/60  สมมติให้เป็น สมการ A
ขณะที่ ข้อมูลอีกแหล่งที่เก็บมาได้ทัน ก่อนที่มันจะหายออกไปจากสาระบบการค้นหา เป็นแบบนี้
มัธยมอาทิตย์ = 360*800*(hd/292207) - 3/60  สมมติให้เป็น สมการ B
โดยที่ hd คือ หรคุณของวันที่เวลาที่ต้องการหา ในรูปจำนวนจริงใดๆ
และผลลัพธ์ของค่าที่ได้ จากสูตรคำนวณ จะออกมาในรูป "องศาจำนวนจริง"
ประเด็นคำถามก็คือ เมื่อมีการนำมาใช้งาน แล้วสมการอันไหนล่ะ ที่มันถูก A หรือว่า B

Saturday, November 16, 2019

เรื่องเล่า ตำนานสุริยยาตร์ ที่มาของเกณฑ์เลข 373

เรื่องเล่า ตำนานสุริยยาตร์ ที่มาของเกณฑ์เลข 373
จากตอนที่แล้ว ได้กล่าวถึง เรื่องของ สงกรานต์ กับคัมภีร์สุริยยาตร์ ว่าเกี่ยวข้อง เกี่ยวพันกันในแง่ใด
ซึ่งสรุปออกมาแล้วว่า เกี่ยวพันกันในเรื่องการย้ายราศีของอาทิตย์จากมีนสู่เมษ การกำหนดจุดคำนวณที่เวลาเที่ยงคืน และเรื่องของเวลาขณะเถลิงศก ณ จ.ศ. 0
โดยมีตัวเลขประกอบเกณฑ์ ขณะเถลิงศก ณ จ.ศ. 0 คือ 373 และแปลงเป็นเวลาได้เท่ากับ 11:11:24 นาฬิกา
ในตอนนี้ เราจะมาดูถึง ที่มาของเกณฑ์เลข 373 นี้ ว่า มันมีที่มาจากอะไร
สำหรับที่มาของข้อมูลนั้น เริ่มต้น มาจาก 2 แหล่ง กล่าวคือ จาก เวบไซต์ ต่อไปนี้
    1. http://jyotish-thailand.blogspot.com/2015/04/1.html
    2.กระทู้จากเวบ payakorn.com/webboard หมายเลขที่ 2125
ผู้ที่เป็นเจ้าของข้อมูล ในข้อที่ 1 คือ คุณ jyotish
ส่วน ข้อที่ 2 เป็นข้อมูลในเวบบอร์ด เป็นการถามตอบกันระหว่างคุณ เกตุ๙
และผู้ตอบคำถาม คือ คุณพลังวัชร์
สำหรับขั้นตอนการคำนวณและมูลเหตุนั้น ในแต่ละแหล่งข้อมูล เป็นดังรายละเอียดถัดไป

เรื่องเล่า ตำนานสุริยยาตร์

เรื่องเล่า ตำนานสุริยยาตร์
ก่อนที่จะมีการบันทึกข้อมูลในส่วนต่อไป ขอนำทุกท่านกลับเข้าสู่ บางเรื่องราว ของวัฒนธรรมแบบไทยๆกันก่อน เนื่องจากมีความเกี่ยวข้อง เกี่ยวพันและเกี่ยวเนื่องกับ ชุดข้อมูลส่วนต่อไปที่จะนำมาบันทึกต่อ ซึ่งเรื่องราวที่ว่านั้นก็คือ เรื่องของ สงกรานต์ นั่นเอง
เพราะสงกรานต์ นั้น ถือว่า เป็น การขึ้นปีใหม่ตามประเพณีไทย โดยกำหนดจากการย้ายราศีของอาทิตย์จากมีนไปสู่เมษ 0 องศา 0 ลิปดา ให้เป็น วันมหาสงกรานต์ วันเนาว์ และ วันเถลิงศก(วันพญาวัน) ตามลำดับ
ทั้งยังมีประกาศเถลิงศกขึ้นประจำในแต่ละปี ซึ่งค่าต่างๆที่อยู่ในประกาศ ถูกคำนวณขึ้นจากคัมภีร์ สุริยยาตร์
เนื่องจากคัมภีร์นี้ ในปัจจุบัน มีผู้ค้นคว้าจนแตกฉานไปถึงขั้น ถอดรหัส กลไก ต่างๆที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นคัมภีร์ไปเรียบร้อยแล้ว ด้วยวิธีการต่างๆกันไป ทั้งที่ยึดตามคัมภีร์เดิม หรือนำหลักวิชาการสมัยใหม่ มาช่วยเหลือในการค้นคว้า วิจัย ถอดรหัสข้อมูลใดๆ ก็ตาม
แต่ก็มีความจำเป็นสำหรับ ผู้ทำการศึกษาค้นคว้า ที่จะต้องทราบ ปูมหลัง พื้นเพ ความเป็นมา ของสิ่งที่ถูกนำมาสร้างเป็นหลักวิชา และ เกณฑ์การคำนวณ เพื่อให้ทราบและเข้าใจถึงเหตุผลของเกณฑ์ต่างๆ ก่อนนำเอาหลักวิชาในปัจจุบันเข้ามาช่วยเหลือในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เป็นการป้องกันการหลงทางและหลงประเด็น
เพราะผลลัพธ์ที่ได้ จากสิ่งเหล่านี้ จะถูกนำไปใช้คำนวณในขั้นตอนหรือในเรื่องอื่นๆต่อไปอีก แน่นอนว่า ถ้ามันผิด ผลที่ได้ในขั้นต่อไป มันก็ผิดอย่างแน่นอน
เอาล่ะ เกริ่นมามากพอแล้ว ไปดู เรื่องราวของสงกรานต์ กันเถอะ

Sunday, November 10, 2019

นพพันนพพวง และ หลักการคิดคำนวณสุริยยาตร์ ตอนที่ 2

นพพันนพพวง และ หลักการคิดคำนวณสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 
    มีคำกล่าวหนึ่ง เผยแพร่กันทั่วไปในอินเตอร์เน็ต ต้นตอจะมาจากหนังหรืออะไรสักอย่าง แต่เห็นแล้วชอบใจดี และ น่าที่จะสอดคล้องกับเรื่องที่จะเสนอต่อไปนี้ ซึ่งเป็นความเห็นเกี่ยวกับนพพันนพพวง ขอยกแต่ใจความมาโดยย่อ ก็แล้วกัน เพราะจำคำกล่าวแบบเป๊ะๆ ออกมาไม่ได้ 
  “ฉันไม่กลัวหรอก คนที่เตะได้ เป็นร้อยๆ เป็นพันๆท่า แต่ฉันกลัวคนที่เตะท่าเดียวเป็นร้อยๆพันๆครั้ง มากกว่า” 
ใจความและความหมายของข้อความข้างต้น น่าที่จะหมายถึง การทำอะไรอย่างมุ่งมั่น เพียงอย่างเดียว ย่อมก่อให้เกิดความชำนาญในการงานที่ทำ อะไร ทำนองนั้น 
แล้วมันไปเกี่ยวข้องกับ นพพันนพพวง ที่ตรงไหน 
ก่อนที่จะไปถึงตรงนั้น ขอเชิญทุกท่าน ดูตัวอย่างของแบบฝึกหัดเลขไทยโบราณ ทั้งสี่รูปแบบกันก่อน 

นพพันนพพวง และ หลักการคิดคำนวณสุริยยาตร์ ตอนที่ 1

นพพันนพพวง และ หลักการคิดคำนวณสุริยยาตร์ ตอนที่ 1 

         ในการอ่านทวนข้อมูลก่อนเก็บ พบข้อคิดเห็นของผู้รู้อีกท่านหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า Natty(ปัจจุบัน ท่านบวชเป็นพระไปแล้ว) ได้กล่าวไว้ในความเห็นของประเด็นหัวข้อ สมการสุริยยาตร์ ถึงเรื่องเกี่ยวกับ นพพันนพพวง โดยกล่าวว่า คนในสมัยโบราณ มีความชำนาญและถนัดในการคูณหาร แบบนี้ ซึ่งเป็นเรื่องตรงกับหลักการคิดคำนวณสุริยยาตร์ สร้างความแปลกใจให้กับ ท่านผู้รู้ที่ตั้งประเด็นเกี่ยวกับสมการสุริยยาตร์ ขึ้นมา เป็นอันมาก 
         สำหรับเรื่องความแปลกใจนั้น ไม่น่าจะเกินความคาดหมายนัก เพราะในปัจจุบันนี้ น้อยคนนักที่จะได้ศึกษาหรือเคยเห็นมัน หากไม่เคยได้สัมผัสกับพวกหนังสือเรียนหรือตำราสมัยเก่าๆมาก่อน 
         แต่เห็นว่า ดูท่านจะแปลกใจมาก คงเป็นเพราะไม่เข้าใจว่า นพพันนพพวง ตรงกับหลักคิดคำนวณ สุริยยาตร์ ที่ตรงไหน เนื่องจาก สิ่งนี้ ไม่เคยได้พบเจอกันในจุดที่ท่านได้ศึกษาหรือค้นคว้ามาก็เป็นได้ ไม่ใช่เรื่องผิดแปลกอะไร 
         เพราะอันที่จริง เรื่อง นพพันนพพวง นี้ ก็ไม่ได้อยู่ ในหลักวิชาของคัมภีร์สุริยยาตร์ อยู่แล้ว แต่ประการใด 
          แต่... ทว่า มันอยู่ในวิธีการคำนวณให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ต่างๆตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ในคัมภีร์สุริยยาตร์ต่างหาก 

Thursday, November 7, 2019

บันทึกเกร็ดสุริยยาตร์ ตอนที่ 2

บันทึกเกร็ดสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 

หลังจากจบเกร็ดความรู้ในชุดแรกกันไปแล้ว ในตอนต่อคราวนี้ มาถึงชุดที่สองกันบ้าง เป็นของท่านผู้มีชื่อเสียงอีกท่านหนึ่ง คือ คุณพลังวัชร์ ซึ่งพบว่าท่านได้เขียนตอบไว้ในกระทู้อันนี้
http://www.payakorn.com/webboard_ans.php?q_id=3465 

แล้วผู้เขียนก็ไปเก็บเอามันมา
หวังว่าจะช่วยงานอะไรในทางคำนวณของตัวเองได้บ้าง 

แต่เปล่าเลย กลับงงหนักยิ่งขึ้นไปกว่าเดิมเสียอีก 
หมายเหตุ ซึ่งกระทู้ดังกล่าวนั้น ก็คือ บทความเกร็ดความรู้ในชุดแรก นั่นเอง 
เอาล่ะ ไม่พูดมาก เรามาดูกันเลย 
กับเรื่องของ การหาตำแหน่งดวงอาทิตย์ย้ายราศีโดยใช้คาบวงโคจร 

บันทึกเกร็ดสุริยยาตร์ จากท่านผู้รู้

บันทึกเกร็ดสุริยยาตร์ จากท่านผู้รู้ 

แวะมาบันทึกเกร็ดความรู้ไว้สักเล็กน้อย เพื่อไม่ให้เว็บนั้นเงียบ 
เดิมที คิดจะเริ่มต้นจากการแปะสมการที่ว่ากันว่าเป็นชุดสมการกลางของคัมภีร์สุริยยาตร์ของท่านผู้รู้ท่านหนึ่ง ที่อุตส่าห์พลิกแผ่นดินหามาอย่างยากลำบาก(เคยเกริ่นแล้วใช่ไหม ว่า ต้นทางที่เขาเก็บเอาไว้ มันหลุดออกจากสาระบบไปเรียบร้อย -*-) แต่กลับพบปัญหาว่า มันมีให้มาตั้งสองตัว(ผู้เขียนเคยเก็บมาแล้วตัวหนึ่งก่อนหน้านี้ แล้วไปเจอกับอีกตัวหนึ่งจากข้อมูลที่ขุดมาได้) ทำให้ ฉงนว่า ตกลง อันไหนถูกกันแน่ จนต้องเสียเวลาไปนั่งลงมือพิสูจน์กันอยู่เกือบสองอาทิตย์(ตามรอยผู้รู้และอัจฉริยะนั้น ไม่ง่ายเลย) ซึ่งก็ได้ข้อสรุปมาเรียบร้อย ขอนำเสนอแค่ผลก็พอ หากมีเวลา ค่อยเสนอแนวทางให้พอสังเขปในภายหลัง 
เอาล่ะ ช่างมันก่อนเถิด วันนี้มาในแบบเบาๆ แค่ C&P(Copy And Paste) มา ก็เพียงแค่นั้น กับเรื่องแรก 

เวลามาตรฐานของสงกรานต์ราศีต่างๆ ตามดาราศาสตร์แผนไทย (สุริยยาตร์) 
ซึ่งผู้เขียน น่าจะเป็นคุณทองคำขาว แน่ๆ โดยมีรายละเอียดเป็นดังนี้