Sunday, November 22, 2020

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

รวบรวมสมการสุริยยาตร์ ตอนที่ 2 ภาคสมการสมผุส

ในตอนที่แล้ว เราทำการรวบรวมสมการมัธยมสุริยยาตร์ สำหรับการคำนวณหาตำแหน่งมัธยม
ของแต่ละดวงดาวและจุดคำนวณต่างๆตามระบบคัมภีร์สุริยยาตร์มาแล้ว คราวนี้ มาดูกันว่า
หลังจากที่คำนวณได้ค่าของมัธยมแต่ละดาวทั้งหมดมาแล้ว จะทำการหาสมผุสกันได้อย่างไรบ้าง

ทบทวนความจำกันก่อน

มัธยม คือ ตำแหน่งดาวแบบเฉลี่ย (Mean Longitude)

สมผุส คือ ตำแหน่งดาวตามจริง (True Longitude)

ในตอนต้น เริ่มแรก ของการหาค่า จะเริ่มจากมัธยม เป็นหลักก่อน เสมอ ทุกครั้ง

เมื่อได้ค่ามัธยมทั้งหมดมาแล้ว จึงเริ่มทำการหาค่าของสมผุสแต่ละดาว กันต่อไป

 สมการแห่งสมผุส เป็นดังต่อไปนี้ :-

========================================

สมการสมผุสต่างๆ

-----------------------

1. สมผุสอาทิตย์ = มัธยมอาทิตย์ - (134/60) SIN[มัธยมอาทิตย์ - 80]

2. สมผุสจันทร์ = มัธยมจันทร์ - (296/60) SIN[มัธยมจันทร์ - มัธยมอุจจ์]

3. สมผุสดาวเคราะห์วงนอก (อังคาร, พฤหัส, เสาร์, มฤตยู)

************************************************************

มนทภุช = (488/60) SIN[มัธยมพระเคราะห์ - อุจจ์]

มนทโกฏิ = (488/60) COS[มัธยมพระเคราะห์ - อุจจ์]

มนทเฉท = เฉท + (1/2)*มนทโกฏิ

มนทสมผุส = มัธยมพระเคราะห์ - 60* มนทภุช / มนทเฉท

สิงฆภุช = (488/60) SIN[มนทสมผุส - มัธยมรวิ]

สิงฆโกฏิ = (488/60) COS[มนทสมผุส - มัธยมรวิ]

สิงฆผล = ABS[สิงฆภุช] / 3

มนทพยาสน์ = พยาสน์ * มนทเฉท

สมผุสพยาสน์ = สิงฆผล + มนทพยาสน์

สิงฆสมผุสเฉท = สมผุสพยาสน์ + สิงฆโกฏิ

มหาสมผุส = มนทสมผุส - 60 * สิงฆภุช/สิงฆสมผุสเฉท

************************************************************

4. สมผุสดาวเคราะห์วงใน (พุธ, ศุกร์)

************************************************************

มนทภุช = (488/60) SIN[มัธยมรวิ - อุจจ์]

มนทโกฏิ = (488/60) COS[มัธยมรวิ - อุจจ์]

มนทเฉท = เฉท + (1/2)*มนทโกฏิ

มนทสมผุส = มัธยมรวิ - 60* มนทภุช / มนทเฉท

สิงฆภุช = (488/60) SIN[มนทสมผุส - มัธยมพระเคราะห์]

สิงฆโกฏิ = (488/60) COS[มนทสมผุส - มัธยมพระเคราะห์]

สิงฆผล = ABS[สิงฆภุช] / 3

มนทพยาสน์ = พยาสน์

สมผุสพยาสน์ = สิงฆผล + มนทพยาสน์

สิงฆสมผุสเฉท = สมผุสพยาสน์ + สิงฆโกฏิ

มหาสมผุส = มนทสมผุส - 60 * สิงฆภุช/สิงฆสมผุสเฉท

************************************************************

5. ตาราง อุจจ์, เฉท และ พยาสน์ ของดาวเคราะห์ต่างๆ

***********************************************

ดาวเคราะห์ : อุจจ์ : เฉท : พยาสน์

อังคาร : 127 : 45 : 4/15

พุธ : 220 : 100 : 21

พฤหัส : 172 : 92 : 3/7

ศุกร์ : 80 : 320 : 11

เสาร์ : 247 : 63 : 7/6

มฤตยู : 124 : 644 : 3/7

***********************************************

6. สมผุสราหู = 252.5 - มัธยมราหู

7. สมผุสเกตุไทย = 360 - มัธยมเกตุไทย

8. สมการเพียร = สมผุสอาทิตย์ - สมผุสจันทร์

=================================

ให้สังเกตว่า ทุกสมการ ตั้งแต่ มัธยมและสมผุส จะมีค่าเป็น องศาจำนวนจริง ทั้งหมด
ซึ่งมีค่าของผลลัพธ์ในจำนวนหลักตัวเลขที่มากและเกินกว่า 1 รอบของวงกลม(360 องศา)
จึงจำเป็นที่จะต้องทำการทอนรอบต่างๆที่คำนวณได้ ให้กลับมามีค่าไม่เกิน 360 องศา ทั้งหมด
เพื่อความง่ายในการพิจารณาและการคำนวณ รวมถึงการทำค่าให้เป็นลิปดาสุทธิด้วย

ซึ่งท่านผู้รู้ได้ทำเป็นสูตรเสริมเอาไว้ให้ แยกต่างหาก แนบท้าย ชุดสมการ มัธยมและสมผุส แล้ว

ในตอนหน้า เรามาดูกันถึง สูตรเสริมต่างๆ เหล่านี้ ว่ามีอะไรกันบ้าง

พบกันใหม่ ตอนหน้า สวัสดี.

หมายเหตุ
บันทึกเพิ่มเติม 24/11/2563

คำว่า มัธยมพระเคราะห์
ในสูตรหาสมผุสดาวเคราะห์วงนอก (อังคาร, พฤหัส, เสาร์, มฤตยู)และวงใน(พุธ, ศุกร์)
หมายถึง ค่ามัธยมของพระเคราะห์นั้นๆ อันหาได้จากสูตรภาคทำมัธยมมาก่อน
ซึ่งจะจำแนกเป็นดาวอะไรนั้น ขึ้นอยู่กับค่า อุจจ์ เฉท พยาสน์ ที่ใช้แทนค่าลงไปในสูตร
สำหรับการคำนวณหาสมผุส จะยังคงใช้แนวคิด จากมัธยมสู่สมผุส เช่นเดิม
เพียงแต่ เรื่องของการหาดาวเคราะห์ที่เหลือนั้น จะมีขั้นตอนที่ค่อนข้างซับซ้อนอยู่หลากหลายชั้นขึ้น
พึงใช้ความระมัดระวังให้ดี ในการคำนวณ

No comments:

Post a Comment