Sunday, November 8, 2020

บทแทรก ความสัมพันธ์ระหว่าง Julian Date กับหรคุณสุริยยาตร์

บทแทรก ความสัมพันธ์ระหว่าง Julian Date กับหรคุณสุริยยาตร์

หลังจากที่ได้นำเสนอ เรื่องของหลุมพรางหรคุณ ที่อยู่ในสมการมัธยมอาทิตย์ในแบบ B พร้อมทั้งเสนอ
หนทางแก้ไขไว้แล้ว เรียบร้อยนั้น

ในบทแทรกนี้ จะมาแนะนำถึงความสัมพันธ์พิเศษ ระหว่าง  Julian Date(JD) กับ หรคุณสุริยยาตร์(hd) ให้ทราบ

สำหรับข้อมูลนี้ ที่จริงมีเผยแพร่กันอยู่แล้ว ตามอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะใน wikipedia แต่อาจจะหลงลืมกันไปบ้าง

จึงขอนำมาเล่าใหม่อีกครั้ง ณ ที่นี้

ความสัมพันธ์ระหว่าง Julian Date กับ หรคุณสุริยยาตร์

การแปลงหรคุณเถลิงศกออกเป็นวันที่ในปฏิทิน อาศัยความรู้ที่ว่า ตามปฏิทินก่อนเกรโกเรียน (proleptic Gregorian calendar) วันที่ 25 มีนาคม พ.. 1181 เวลา 00:00 . มีค่าหรคุณจูเลียน (Julian day number) เป็น 1954167.5 จึงสามารถบวกหรคุณตามแบบสุริยยาตร์เข้ากับเกณฑ์ข้างต้นก่อนแปลงให้เป็นวันที่ต่อไป ดังนั้น หรคุณจูเลียนของวันเถลิงศกจึงหาได้ตามสูตร

JD วันเถลิงศก = [(292207* (..-1181) + 373)/800] + 1954167.5

********************************************************

ที่จริงแล้ว เนื้อหาใน wikipedia มีกล่าวไว้เพียงเท่านี้ และกล่าวเลยไปถึงเรื่องอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้อง

ส่วนที่เหลือต่อจากนี้ จะเป็นการประยุกต์ จากข้อมูลที่ผู้เขียนได้ทำการค้นคว้าไว้ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป

********************************************************

จากสูตรดังกล่าวข้างต้น

ทดลองปรับรูปแบบในสมการดูใหม่ ย้ายข้าง จะได้ออกมาเป็น

JD เถลิงศก-1954167.5= [(292207* (..-1181) + 373)/800]

เทอมทางด้านขวา เป็นสูตรของหรคุณเที่ยงคืนก่อนวันเถลิงศก(ตรงจุดนี้ เว้นไว้ก่อน ขอกล่าวถึงในภายหลัง)

ดังนั้น

JD เถลิงศก-1954167.5= หรคุณเที่ยงคืนก่อนวันเถลิงศก สุริยยาตร์

เนื่องจากพจน์ด้านขวามือเป็นพจน์ของหรคุณเที่ยงคืนวันประสงค์หรือหรคุณเที่ยงคืนก่อนวันเถลิงศก

แปลว่า JD เถลิงศก ทางด้านซ้ายมือ ก็ต้องเป็น JD ที่ถูกคิด ณ เที่ยงคืนของวันเถลิงศกนั้นนั่นเอง โดยมีติดทศนิยมอยู่ที่ 0.5

เมื่อ Derive สมการ และ ขยายความออกมา จะได้ว่า

JD คำนวณ ณ เที่ยงคืนใดๆ-1954167.5= หรคุณเที่ยงคืนวันประสงค์ สุริยยาตร์

โดยที่ หรคุณเที่ยงคืนวันประสงค์ = หรคุณเที่ยงคืนก่อนวันเถลิงศก+สุทิน ตามเกณฑ์ในตำราเดิม

และ ค่าของ JD คำนวณ ณ เที่ยงคืนใดๆ นี้ จะติดทศนิยมอยู่ที่ 0.5 แสดงให้เห็นว่า คิดที่จุดเที่ยงคืน

ค่าของหรคุณที่ได้จากความสัมพันธ์นี้ จะกลายเป็นค่าหรคุณเที่ยงคืนวันประสงค์ เพื่อนำไปใช้กับชุดสมการหาตำแหน่งดาวต่างๆต่อไป เพราะเป็นหรคุณในระบบสุริยยาตร์เรียบร้อยแล้ว

 

No comments:

Post a Comment